บทความนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ การกำหนด มอก.ในรายการประกอบแบบ
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ)เป็นหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานวัสดุอุปกรณ์ ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศไทยเพื่อให้วัสดุที่นำมาใช้ในธุรกิจในอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้มาตรฐาน
อิฐมอญ ก็เป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการได้ผลิตและขึ้นทะเบียน
อิฐมอญให้ได้คุณภาพขั้นต่ำ ของการผลิตอิฐมอญในอุตสากรรมในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสามารถหนด
มาตรฐานวัสดุในรายการประกอบแบบ โดยทั่วไปให้ยึดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ 2535 หรือ ระเบียบพัสดุ 2535
โดยการจะกำหนดวัสดุ หรือ กำหนดราคาวัสดุ ต้องมีวัสดุชนิดที่จะกำหนดนั้นผลิตหรือจำหน่ายในพื้นที่่ไม่น้อยกว่า 3 รายจึงนำมากำหนดในรายการประกอบแบบ
มอก.อิฐมอญในประเทศไทยมีกำหนดอยู่ 2 มาตรฐานคือ
1.มอก.77-2545 อิฐมอญตัน หรือ (อิฐก่อสร้างสามัญ) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ)ได้กำหนดมอก.อิฐมอญก่อสร้างสามัญหรืออิฐมอญตันก่อผนังรับน้ำหนัก กำหนดขึ้นครั้งแรกในปี 2517 และแก้ไขมาหลายครั้้งจนครั้งปัจจุบัน มอก.77-2545
-สาระสำคัญในมอก77-2545 นี้ คือ 1.1 ตัองมีค่าดูดซึมน้ำไม่เกินตามตรางล่างนี้
ตรางที่ 1
2.มอก.153-2540(อิฐกลวงก่อผนังไม่รับน้ำหนัก)หรืออิฐมอญรูขนาดต่างๆ สำนักงาน สมอ.ได้กำหนดให้ผู้ผลิตอิฐมอญกลวงหรืออิฐมอญมีรู
ให้มีขนาดตามกำหนด และ มีค่าดูดซึมน้ำได้ไม่เกิน ตรางล่างนี้
ค่าการดูดซึมน้ำไม่เกินในตรางล่างนี้
ตรางที่ 2
สรุป มอก.อิฐมอญในประเทศไทยมี สอง มาตรฐาน คือ
1.มอก.77(อิฐมอญตัน)
2.มอก 153(อิฐมอญกลวงก่อผนังไม่รับน้ำหนัก)
สำหรับอิฐมอญฉางเฉินและอิฐมอญไทยเหลียงฮั้ว ได้ผลิตอิฐมอญก้อนใหญ่ และได้ส่งอิฐมอญทดสอบค่าดูดซึมน้ำและรับแรงอัด เทียบได้กับมอก.153 ดูรูปที่ 3 ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอรับมอก.153-2540 และ
จะเริ่มผลิตและจำหน่ายอิฐมอญมอก.153-2540 ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 นี้ (ขนาด 6.50x11.00x25.00cm)
ค่าดูดซึมน้ำไม่เกิน 16.47%
รับแรงอัดได้ไม่น้อยกว่า 41.32 KSC (มอก.153 ไม่ได้กำหนดไว้)
ดาวน์โหลดเอกสารทดสอบม.จุฬา คลิก